วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการจัดทำ E-Journal :)


 

              รูปแบบของ E-Journal

              1.  วารวารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ
              2.  วารสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบซีดีรอม-ฉบับเต็ม
                   : แบบ Online. , Archived annually.
              3.  วารสารอิเล็กทรอรนิกส์ในรูปแบบเครือข่าย
                   ได้แก่  Social science Research Network


               การจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์


               1. การจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกโดยวิธีสแกน
               2. การจัดทำโดยการพิมพ์
               3. วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

               TIP :  Drupal ----> เป็น Open Source ที่ได้รับรางวัล เนื่องจากมีการพัฒนาให้มีระบบ IR ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานด้านการทำ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเว็บเพจ ในรูปแบบ All in one. เหมาะสมกับห้องสมุดในการนำมาปรับใช้

            
                Purpose Of reading

                1.Primary Purpose
                2.Secondary Purpose : เพื่อมาใช้ในการสอน  เป็นต้น
             

           Preferred Format

                19% -บทความในรูปแบบสิ่งพิมพ์
                23% - บทความที่อ่านจากหน้าจอ
                58% - บทความที่ดาวน์โหลดและพิมพ์เป็นรูปแบบสิ่งพิมพ์


              บริการแจ้งเตือน E-Journal

              1. Save search alerts
              2. TOC - Table of content alert : เป็นบริการแจ้งเตือนเมื่อมีบทความใหม่ที่เป็นเรื่องที่ผู้ใช้สนใจทางอีเมลล์
              3. Weekly Digests : เป็นการแจ้งเตือนบทความใหม่เป็นรายสัปดาห์



วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

e-Journals ;)



          รูปแบบการจัดทำวารสารในปัจจุบัน


                1.วารสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์
                2.วารสารในรูปแบบวัสดุย่อส่วน
                3.วารสารในรูปแบบฐานข้อมูง CD- Rom
                4.วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์

                ปัจจุบันวารสารในรูปแบบที่ 3 หาได้ยาก เพราะในรูปแบบที่ 4 สามารถทดแทนได้ทั้งหมด

                ชนิดของไฟล์ที่ใช้ในการทำ e-Journals ได้แก่ : PDF, ABS, Scan-.trif .gif, HTML

                ประเภทของ e-Journals

                1.ทำซ้ำฉบับสิ่งพิมพ์ Electronics version of journals.
                   : สำนักพิมพ์ทำวารสารแบบสิ่งพิมพ์ แล้วจัดทำวารสารฉบับเดิมเป็นแบบ pdf โดยผ่านการ Scan
                2. ทำเป็นดิจิทัล Born-digital titles.
                    : จัดทำขึ้นใหม่เป็นดิจิทัล เช่นวารสารในกลุ่มของ OA ถือเป็นแบบ Born-digital ทั้งหมด


                วิธีการจัดทำ e-Journals

                - การแสกน (Scanned Journals) : แสกนจากฉบับสิ่งพิมพ์
                - จัดทำโดยการพิมพ์ (e-Journals from print production)
                - วารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Journal format)
               

Implementation of e-books :o

 

           Implementation of e-books
           
                การเข้าถึง (Access)

                1. Downloadable e-books
                    : มีทั้งแบบที่เป็นการค้าและไม่เป็นการค้า
                2. Dedicated e-books reader
                    : ผู้ใช้จะสามารถอ่าน e-books ได้จะต้องเป็นสมาชิกของผู้สร้าง เพราะต้องมีการจ่ายค่าบำรุงรักษาต่างๆ
                3. web accessible e-books
                    : ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้บนเว็ปไซต์ผ่านอินเตอร์เน็ท

                ตัวอย่างตัวแทนจำหน่าย e-books : NetLibrary, eBrary,Safari, OVID, Ebsco, American Psychological Association, ArtFL Oxford UP Reference, ecps


วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

OA Publishing : Gold OA :)


                Gold OA : เป็นการเปรียบเทียบว่าเป็นเส้นทางสีทองที่นำไปสู่ Open Access Publishing.
             
                Gold OA นั้นจัดเป็น Open Access อย่างแท้จริง คือผู้เขียนเป็นผู้จ่ายค่าตีพิมพ์ ส่วนผู้อ่านสามารถอ่านและเข้าถึงได้ฟรี และอ่านได้ฟรีบนอินเตอร์เน็ท ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ่น

                ลักษณะของ Gold OA

                1. ต้องเป็นวารสารวิชาการ
                2. ใช้กลไกในการควบคุมคุณภาพเช่นเดียวกับวารสารทั่วไป 
                3. ต้องเป็นวารสารดิจิทอล
                4. เปิดให้เข้าถึงได้อย่างสาธารณะ หรือเสรี
                5. อนุญาตให้ผู้เขียน retain copyright ได้ แต่ถ้าผู้เขียนไม่ต้องการก็สามารถใช้ licenses Public domain
                6. สามารถเลือกใช้ Creative commons หรือ licenses อื่นๆได้



                ประเภทของ Gold OA
   
                1. Born OA publisher เป็นวารสารที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน แต่คิดจะจัดทำให้วารสารนั้นเป็น OA จึงเรียกว่า Born-OA Publishers


                2. Conventional publisherมีการขายวารสาร แต่ก็มีนโยบายเปิดเป็น OA โดยสามารถนำวารสารมาทำเป็น OA ได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำด้วย เช่น Splinkerlink

                3. Non-traditional Publisher :  ม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ เป็นกลุ่มวารสารที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งเปิดให้มีการจัดการแหล่งข้อมูลวารสารและระบบการเผยแพร่แบบสาธารณะ            
     

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

OA Publishing : Green OA : ]



ความหมายของ OA แบบสั้นๆ ----->Open Access (OA) หมายถึง เอกสารวิชาการแบบดิจิทัล ที่มีการเผยแพร่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์ได้แบบเสรี (ฟรี) 


(คราวนี้มาเริ่มกันจริงละนะคะ)


ประเภทของ OA


Green OA : OA archives or repositories.


             นำเข้าบทความในสถาบันตนเอง โดยลงในกลุ่มสาขาวชาเดียวกัน มักไม่มีการ peer review  หรือ วารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ คลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้


             รูปแบบการนำเสนอ OA
             1.Author's personal website. : นำเสนอผ่านเว็ปไซต์ส่วนตัวของผู้เขียนเอง สามารถเผยแพร่ได้ ทันที เหมาะสมในการเผยแพร่ Imprint และตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนมากกว่า
             2.Disciplinary Achives : คลังจัดเก็บเอกสารของสถาบัน หรือ ระดับมหาวิทยาลัย อาจร่วมมือกันทำ               เป็นเครือข่ายได้
             3.Institutional-Unit Achives : เป็น IR ย่อยที่ทำโดยหน่วยย่อยของสถาบันอีกชั้นหนึ่ง
             4.Institution Repositories : รวมวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่มีในประเทศที่เราสามารถเข้าไปค้นได้
             


เรื่องต่อไปคือ 
Gold OA : OA journal. ขอบคุณที่แวะเข้ามานะคะ : )

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Pre-Print , Post-Print , Grey Literature , White Paper & Errata / Corrigenda ; P


                Public Domain


                คือผลงานที่ไม่คุ้มครองด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ ใครจะเอาไปใช้อย่างไรก็ได้ ถือว่าผลงานนั้นเป็นของสาธารณชนแล้ว ไม่มีเจ้าของผลงานที่แท้จริง

                 Preprint

                 Preprint เป็นเอกสารต้นฉบับ ก่อนที่ะทำการจัดพิมพ์ ซึ่งจะเป็นเอกสารในลักษณะที่ถูกเก็บในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งบทความที่เป็น Preprint อยู่ในขั้นตอนของการประเมิน ปรับปรุง แก้ไข คุณภาพของผลงานเพื่อจัดการทำการตีพิพม์ต่อไป

                Postprint


                Postprints เป็นเอกสารในรูปแบฉบับสมบูรณ์ ที่ได้รับการประเมิน ปรับปรุง แก้ไข จากเอกสารที่เป็นฉบับ Preprint

                Grey Literature


                Grey  หมายถึง เอกสารที่หาได้ยาก กล่าวคือเผยแพร่เฉพาะในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
                Grey Literature  คือ  เอกสารที่มีจำนวนพิมพ์จำกัด เอกสารที่ไม่มีตีพิมพ์ทั่วไป เช่น หนังสือ วารสาร หรือเอกสารอื่นๆ ที่มีการควบคุมคุณภาพ โดยมีการพิจารณาก่อนที่จะนำไปตีพิมพ์ และไม่นำไปตีพิมพ์แพร่หลาย หรือเป็นสารสนเทศข้อมูลที่จัดทำโดยรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม ในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ โดยไม่ผลิตในเชิงเพื่อธุรกิจ

                Errata / Corrigenda



                Errata / Corrigenda หมายถึง  เอกสารที่มีความผิดพลาด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง  และสามารถปรับปรุงแก้ไขจากเอกสารฉบับเดิมได้
                - Green OA  (OA archives or repositoriesไม่มีการพิมพ์ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ คลังความรู้องค์กร (IR) เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้
                - Gold OA  วารสารที่ผู้เขียนทำ จัดการและดูแลเอง  ผู้ทำช่วยกันจัดทำดูแลเป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์


Copy Right (ลิขสิทธิ์)



                ลิขสิทธิ์ (Copy Right) หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์งานที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น โดยการแสดงออกตามประเภทงานลิขสิทธิ์ต่างๆ โดยเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะสร้างสรรค์งานขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น " ทรัพย์สินทางปัญญา" ประเภทหนึ่งที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์ จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฏหมาย ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินที่สามารถซื้อ ขาย โอนสิทธ์ กันได้ ทั้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่นๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจ็น จะโอนสิทธ์ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้


                Fair Use

                Fair Use คือ การนำลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาใช้ได้ในระดับที่จำกัด ซึ่งเป็นความชอบธรรมทางการกฎหมายที่บุคคลสามารถนำผลงานของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ขัดกับผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น
                - การนำงานวิจัยและผลงานวิชาการมาใช้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น การนำผลงานมาเพื่อใช้ในการสอนหรือการทำสำเนาเพื่อประกอบการเรียนในห้องเรียน หรือ การนำมารายงานข่าว
               - การอนุญาติลิขสิทธิ์ในระดับที่จำกัด เช่น การใช้งานด้านสื่อโสตทัศน์ งานศิลปะ หรือ งานสถาปัตยกรรม


                การคุ้มครองลิขสิทธิ์

               การคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิกระทำเพียงผู้เดียวในผลงาน
ที่เป็นงานมีลิขสิทธิ์ของตน
               1. สามารถทำซ้ำ หรือ ดัดแปลง
               2. การเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน
               3. ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
               4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
               5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ในการเช่าซื้อ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน และให้เช่าต้นฉบับ เป็นต้น


                อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์

                 โดยทั่วๆ ไป การคุ้มครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีผลตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต้อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างเสียชีวิต 

                ประโยชน์ของลิขสิทธิ์

                1. ประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายลิขสิทธิ์ และมีสิทธิ์แต่เพี่ยวผู้เดี่ยวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือผลงานตามข้อใดข้อหนึ่งดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์ ทำซ้ำ หรือดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบ ทำสำเนา การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ของตนทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
                 

                2. ประโยชน์ของผู้ใช้หรือผู้บริโภค การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าทางวรรณกรรมและศีลปกรรมออกสู่ตลาดให้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ผลงานที่มีคุณภาพ




                ครีเอทีฟ คอมมอนส์  ( Creative Commons: CC )



               Creative Commons เป็นรูปแบบสัญญาอนุญาตการใช้ลิขสิทธิ์จำพวกหนึ่ง ที่ได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต (จอย อิโต) โดยครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา 
               องค์กรได้จัดตั้งสัญญาอนุญาตดังกล่าวขึ้นเพื่อขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ที่มีอยู่จำนวนมากให้กว้างขึ้นโดยที่ไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้นๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยสัญญานี้จะคุ้มครองเจ้าของผลงานและต่อต้านการแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ซึ่งการคุ้มครองนี้อาจไม่สามารถคุ้มครองผลงานได้ 100% แต่สามารถฟ้องกลับบุคคลที่นำผลงานของบุคคลอื่นไปเป็นของตนเองได้



         ประเภทของสัญญาอนุญาต
              1.Attribution บุคคลอื่นสามารถทำสำเนา แจกจ่าย เปิดเผยข้อมูล หรือแสดงผลงานของเจ้าของผลงานได้ โดยไม่ต้องขอหรือจ่ายเงิน แต่ต้องทำการให้ credit กับเจ้าของผลงานทุกครั้ง
              2.Non-commercial บุคคลอื่นสามารถกระทำการทำสำเนา เปิดเผย แจกจ่าย หรือแสดงผลงานของเจ้าของผลงานได้โดยไม่ต้องร้องขอ หรือจ่ายเงินแต่เฉพาะวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์เท่านั้น
              3.No derivative work อนุญาตให้ผู้กระทำสามารถทำสำเนา แจกจ่าย เปิดเผย หรือแสดงผลงานของเราได้โดยไม่ต้องขอหรือจ่ายเงิน แต่ผู้กระทำไม่สามารถนำงานไปดัดแปลงแก้ไขได้
              4.Share alike อนุญาตให้ผู้กระทำสามารถกระจายงานทีดัดแปลงหรือแก้ไขภายใต้การอนุญาตที่คล้ายกันกับรูปแบบที่เราเลือกไว้



วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

IR (Institutional Repository) : )


                IR (Institutional Repository) 


                 IR (Institutional Repository) หมายถึง คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการจัดเก็บเป็นศูนย์รวม มีการสงวนรักษา และมีการจัดทำดัชนีที่ได้มาตรฐาน สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นได้ และเผยแพร่งานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ ซึ่งสมควรได้รับการจัดเก็บ และเผยแพร่ในรูปของดิจิทัล รวมทั้งการสงวนรักษาผลงานเหล่านั้นให้คงไว้ในระยะยาว และถือเป็นบทบาทหลักของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย ในการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ เหล่านี้ (นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้สถาบันไปในตัวด้วยนะคะ lol)

                 ประโยชน์ของ IR 


                 1. ทำให้เกิดระบบการรวบรวม สงวนรักษา และเผยแพร่เนื้อหาทางวิชาการ                                                                                                                                
                 2. เป็นตัวชี้วัดของคุณภาพทางวิชาการของสถาบัน
                 3. เป็นการเก็บรักษาทรัพย์สินทางปัญญาในรูปดิจิทัล
                 4. ช่วยเป็นพื้นฐานของกระบวนทัศน์ใหม่ในการพิมพ์ผลงานทางวิชาการ
                 5. เป็นการสื่อสารทางวิชาการ
                 6. เป็นการสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงโดยเสรี
                 7. เป็นการจัดการความรู้

                 คุณลักษณะที่สำคัญของ IR  

                         1. เนื้อหาที่เป็นดิจิทัล (Digital content)
                  2. การเน้นงานที่สร้างโดยสมาชิกของสถาบัน (Institutionally-defined)
                  3. เนื้อหาทางวิชาการ (Scholarly content) :  เน้นเนื้อหาทางวิชาการ  เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเป็นคลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน
                  4. การสะสมเพิ่มพูน และความยั่งยืน (Cumulative and perpetual)
                  5. การทำงานร่วมกันได้และการเข้าถึงแบบเปิด/แบบเสรี (Interoperable and open access) : มีการนำ Open Archives Initiative (OAI) มาใช้เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดมาตรฐานสำหรับการเก็บรักษาในเชิงบันทึกถาวร และสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนเมทาดาทาทำให้สามารถสืบค้น และเรียกใช้ข้อมูลข้ามระบบกันได้


                      เรื่อง IR ที่ได้นำมาลงในบล็อกในวันนี้ มีความเชื่อมโยงกับเรื่อง OA ในครั้งที่แล้วนะคะ : ) หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆคน ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมบล็อกนะคะ สวัสดีคะ : P

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

OA (OPEN ACCESS) ; ]







                OA หรือที่รู้จักกันในชื่อเต็มๆว่า Open Access (ส่วนใหญ่เค้าเรียกว่าอะไรกันนะ) คือ วารสารวิชาการที่มีการเปิดเผยเนื้อหา (บทความ) ในรูปแบบดิจิทัลที่เข้าถึงได้แบบออนไลน์ได้ฟรี ซึ่งกำลังได้รับความสนใจและมีบทบาทมากจากผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 


         สืบเนื่องจากปัญหาที่สำคัญที่รับรู้กันทั่วไป คือ ราคาวารสารวิชาการมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะวารสารวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ (STM) ที่ห้องสมุดทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเรื่องงบประมาณที่มีจำกัดในการบอกรับวารสารวิชาการที่มีราคาสูงเหล่านั้น 





                  OA จึงได้รับความสนใจอย่างมาก จากทั้งผู้แต่ง ผู้เขียนบทความ(ใจดี)ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานของตนเองออกไปสู่สาธารณชน นอกเหนือจากการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีราคาแพง และเข้าถึงได้ยากสำหรับห้องสมุด


                  ปัจจุบัน OA ถือเป็นผู้ช่วยหลักที่สำคัญในการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ใหม่ในยุคสังคมสารสนเทศ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งห้องสมุดควรนำเอา OA มาปรับใช้ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึง สารสนเทศได้ง่ายขึ้น 
                                 


                นอกจากนนี้ห้องสมุดควรมีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้สนใจค้นหาความรู้ผ่าน OA เพราะผู้ใช้ในประเทศไทยให้ความสนใจกับการใช้สารสนเทศจาก OA น้อยมาก (แม้แต่ตัวผู้เขียนเองยังได้สนใจใช้ OA ได้ไม่นานมานี้ บทความที่ดีๆก้อเยอะอยู่นะคะ) 


                                 
        แหล่งค้นหา OA (Open Access)


        Directory of Open Access Journals , DOAJ      จัดทำโดยห้องสมุด LUND
ประเทศสวีเดนรวบรวมรายชื่อ
วารสาร Open Access ในทุกสาขามากกว่า 2,700 รายชื่อ

         


        Google Directory      รวบรวมรายชื่อแหล่งข้อมูล Open access ถึง 53 แหล่ง




                   
                 ข้างต้นคือความสำคัญและตัวอย่างที่ยกมาให้ผู้อ่านทราบ หวังว่าบทความวันนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้ผู้อ่านสนใจ อยากจะลองเข้าไปหาอะไรดีดี (และฟรีด้วย) มาเก็บไว้ในเครื่อง หลังจากอ่านบทความนี้ : )  
                 สำหรับเรื่องต่อไปที่จพนำเสนอนั้นคือเรื่อง IR (Institutional Repository) แล้วพบกันใหม่ค่ะ ; )