OA หรือที่รู้จักกันในชื่อเต็มๆว่า Open Access (ส่วนใหญ่เค้าเรียกว่าอะไรกันนะ) คือ วารสารวิชาการที่มีการเปิดเผยเนื้อหา (บทความ) ในรูปแบบดิจิทัลที่เข้าถึงได้แบบออนไลน์ได้ฟรี ซึ่งกำลังได้รับความสนใจและมีบทบาทมากจากผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สืบเนื่องจากปัญหาที่สำคัญที่รับรู้กันทั่วไป คือ ราคาวารสารวิชาการมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะวารสารวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ (STM) ที่ห้องสมุดทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเรื่องงบประมาณที่มีจำกัดในการบอกรับวารสารวิชาการที่มีราคาสูงเหล่านั้น
OA จึงได้รับความสนใจอย่างมาก จากทั้งผู้แต่ง ผู้เขียนบทความ(ใจดี)ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานของตนเองออกไปสู่สาธารณชน นอกเหนือจากการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีราคาแพง และเข้าถึงได้ยากสำหรับห้องสมุด
ปัจจุบัน OA ถือเป็นผู้ช่วยหลักที่สำคัญในการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ใหม่ในยุคสังคมสารสนเทศ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งห้องสมุดควรนำเอา OA มาปรับใช้ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึง สารสนเทศได้ง่ายขึ้น
นอกจากนนี้ห้องสมุดควรมีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้สนใจค้นหาความรู้ผ่าน OA เพราะผู้ใช้ในประเทศไทยให้ความสนใจกับการใช้สารสนเทศจาก OA น้อยมาก (แม้แต่ตัวผู้เขียนเองยังได้สนใจใช้ OA ได้ไม่นานมานี้ บทความที่ดีๆก้อเยอะอยู่นะคะ)
แหล่งค้นหา OA (Open Access)
Directory of Open Access Journals , DOAJ จัดทำโดยห้องสมุด LUND
ประเทศสวีเดนรวบรวมรายชื่อวารสาร Open Access ในทุกสาขามากกว่า 2,700 รายชื่อ
Google Directory รวบรวมรายชื่อแหล่งข้อมูล Open access ถึง 53 แหล่ง
ข้างต้นคือความสำคัญและตัวอย่างที่ยกมาให้ผู้อ่านทราบ หวังว่าบทความวันนี้จะเป็นประโยชน์และทำให้ผู้อ่านสนใจ อยากจะลองเข้าไปหาอะไรดีดี (และฟรีด้วย) มาเก็บไว้ในเครื่อง หลังจากอ่านบทความนี้ : )
สำหรับเรื่องต่อไปที่จพนำเสนอนั้นคือเรื่อง IR (Institutional Repository) แล้วพบกันใหม่ค่ะ ; )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น